วันอาทิตย์ที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2556

อ้างอิง

อ้างอิง :
ความหมายของอินเตอร์เน็ต
การกำเนิดอินเตอร์เน็ต   
การกำเนิดอินเตอร์เน็ตในประเทศไทย
หมายเลขประจำเครื่อง (IP Address) & Domain name
-https://www.google.co.th

คณะผู้จัดทำ





ผู้จัดทำ :

นาย ธีธัช                    สอนแก้ว             ชั้น ม.4/3                เลขที่ 9
              

นาย ธนกร                พวงจิตร               ชั้น ม.4/3                 เลขที่ 19
               


 นาย สรวิศ                ลือเกียรติกุล          ชั้น ม.4/3                เลขที่ 29


เด็กหญิง ณชนันทน์    ว่องสุภัคพันธุ์        ชั้น ม.4/3                เลขที่ 39



เด็กหญิง ทิพาวัลย์     จันทสาร                ชั้น ม.4/3                เลขที่ 49

บริการต่างๆบนอินเตอร์เน็ต



1. World Wide Web (WWW) เครือข่ายใยแมงมุมเป็นการเข้าสู่ระบบข้อมูลอย่างข้อมูลในรูปของ Interactive Multimedia คือ มีทั้งรูปภาพ ข้อความ ภาพเคลื่อนไหว เสียง และวีดีโอ อีกทั้งข้อมูลเหล่านี้ยังใช้ระบบที่เรียกว่า hypertext กล่าวคือ จะมีคำสำคัญหรือรูปภาพในข้อมูลนั้นที่จะช่วยให้ท่าน เข้าสู่รายละเอียดที่ลึกและกว้างขวางยิ่งขึ้น คำสำคัญดังกล่าวจะเป็นคำที่เป็นตัวหนา หรือขีดเส้นใต้ เพียง แต่ท่านเลือกกด ที่คำ ที่เป็นตัวหนาหรือขีดเส้นใต้ นั้น ๆ ท่านก็สามารถเข้าสู่ข้อมูลเพิ่มเติมได้ (ข้อมูลเหล่านี้จะมีผู้สร้างขึ้นมาและเก็บไว้ในคอมพิวเตอร์ ต่าง ๆ ทั่วโลก)
2. ไปรษณีย์อิเลคทรอนิคส์ (Electronic Mail หรือ E-Mail)
                เป็นบริการหนึ่งบนอินเทอร์เนตที่คนนิยมใช้กันมากคือส่งจดหมายโดยทางคอมพิวเตอร์ถึงผู้ที่มีบัญชีอินเตอร์เน็ต ด้วยกันไม่ว่าจะอยู่ใกล้หรือไกลคนละซีกโลกจดหมายก็จะไปถึงอย่างสะดวกรวดเร็วและง่ายดายโปรแกรมที่ใช้ ได้แก่Hotmail  , YahooMail , ThaiMail และยังมี Mail ต่าง ๆ ที่ให้บริการอย่างมากมายในปัจจุบัน ตามหน่วยงานหรือองค์กรต่าง ๆ
3. Search Engine  (บริการค้นหาข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต)
          Search Engine เป็นเว็บไซต์ที่มีเครื่องมือในการที่จะค้นหาเว็บไซต์ต่าง ๆ มาเก็บไว้ในฐานข้อมูลของ     ตัวเองโดยอัตโนมัติ เช่น Google.com หรือ Altavista.com ซึ่งเครื่องมือนี้ มีชื่อเรียกว่า Search Robot     จะทำหน้าที่คอยวิ่งเข้าไปอ่านข้อความจากหน้าเว็บไซต์ ของเว็บต่าง ๆ แล้วนำมาจัดลำดับคำค้นหา (Index)     ที่มีในเว็บไซต์เหล่านั้น เก็บไว้ในฐานข้อมูลของตนเอง เมื่อเราเข้าไปใช้บริการกับ Search Engine
4. Instant Message (บริการสนทนาบนอินเทอร์เน็ต )
           Instant Messaging ก็คือการสนทนาทางโทรศัพท์อย่างหนึ่งแต่เป็นในรูปของตัวอักษร     พนักงานในบริษัททั้งขนาดเล็กและใหญ่ต่างใช้ IM เป็นเครื่องมือในการสื่อสาร สำหรับคนอีกจำนวนมาก  IM  คือการสื่อสารสำรองเมื่ออีเมล์มีปัญหาหรือเหตุฉุกเฉินอื่นๆ
5.Telnet
 เป็นบริการที่ช่วยให้เราสามารถเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์อื่นเสมือนหนึ่งไปนั่งใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ของที่นั่น โปรแกรมที่ช่วยให้ท่านใช้บริการนี้ได้คือ โปรแกรม NCSA Telnet เมื่อเปิดโปรแกรมแล้วให้พิมพ์คำสั่ง Telnet ดังในรูปภาพข้างล่างเมื่อท่านใช้คำสั่ง Telnet แล้วให้พิมพ์ที่อยู๋ของแหล่งข้อมูลนั้น ท่านก็จะสามารถเข้าสู่ระบบข้อมูลนั้น ๆ ได้เสมือนท่านไปนั่งอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์ของเครื่อง ๆ นั้นเลยทีเดียว ระบบ Telnet
6. FTP (File Transfer Protocol)
คือ บริการที่ใช้ในการโอนย้าย file หรือข้อมูลจากคอมพิวเตอร์หนึ่งไปยังอีกคอมพิวเตอร์หนึ่ง สามารถโอนย้ายข้อมูล เช่น
รูปภาพ , ข้อความ , บทความ , คู่มือ และโปรแกรมต่าง ๆ
7. Web board (บริการกระดานข่าวหรือ เวบบอร์ด )
           WebBoard คือโปรแกรมที่ทำหน้าที่ในลักษณะเป็น กระดานสนทนา เป็นกระดานแจ้งข่าวสาร ข้อมูล     และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน
บริการต่าง ๆ ในอินเทอร์เน็ต
    1. ไปรษณีอิเล็กทรอนิกส์ (E-mail : Electronics mail)
    2. เครือข่ายใยแมงมุม (WWW : World Wide Web)
    3. การถ่ายโอนแฟ้มข้อมูล (FTP : File Transfer Protocol)
    4. การทำงานข้ามเครื่อง (TelNet)                                  
5. การสนทนาบนเครือข่าย(IRC : Internet Relay Chat)
    6. กลุ่มข่าวที่สนใจ (UseNet)
    7. การค้นหาข้อมูลและไฟล์ข้อมูล(Gopher/Archie)
     1. ไปรษณีอิเล็กทรอนิกส์ (E-mail : Electronics mail)
    เป็นบริการที่ช่วยให้สามารถส่งข้อมูลแลกเปลี่ยนกันในรูปแบบ อิเล็กทรอนิกส์โดยที่ผู้ส่งจะใช้บัญชีอินเทอร์เน็ต (E-mail Adrress) ส่งข้อมูลประเภทข้อความ รูปภาพ หรือเสียง ผ่านจอคอมพิวเตอรื ไปยังบัญชีอินเทอร์เน็ตของผู้รับ หากผู้รับไม่อยู่ที่จอคอมพิวเตอร์จดหมายนี้จะถูกเก็บไว้ในตู้ โดยที่ผู้รับจะรับเวลาใดหรือตอบกลับเวลาใดก็ได้
    ผู้ใช้บริการสามารถติดต่อรับ/ส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ กับผู้ใช้อินเทอร์เน็ตได้ทั่วโลกได้ ซึ่งสะดวก รวดเร็ว ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่าย
    2. เครือข่ายใยแมงมุม (WWW : World Wide Web)
    เป็นบริการค้นหาและแสดงข้อมูลในแบบสื่อประสม(Multimedia) คือจะเป็นข้อมูลที่มีทั้งข้อความ ภาพ และเสียงประกอบกัน ซึ่งเป็นบริการที่แพร่หลาย ขยายตัวเร็วที่สุดบนอินเทอร์เน็ต
    โปรแกรมที่เป็นประตูเข้าสู่โลก World Wide Web ในปัจจุบันมีหลายรายแต่ที่ได้รับความนิยม คือ Nestcape Communicator) และ Internet Explorer โดยที่ผู้ใช้บริการต้องระบุ URL (Uniform Resource Locator) เป็นที่อยูของเอกสารในเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เช่น www.nu.ac.th
    nu หมายถึง มหาวิทยาลัยนเรศวร
    ac หมายถึง องค์กรที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา
    th หมายถึง ประเทศไทย
    3. การถ่ายโอนแฟ้มข้อมูล (FTP : File Transfer Protocol)
 เป็นบริการที่ใช้ในการโอนย้ายแฟ้มข้อมูลหรือโปรแกรมต่าง ๆ ที่ต้องการบนเครือข่ายคอมพิวเตอร์ จากเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งไปยังคอมพิวเตอร์อีกเครื่องหนึ่งในระบบ การสั่งไฟล์นี้อาจเป็นการส่งผ่านเครื่องใด ๆ ในระบบมาไว้ยังเครื่องของเรา ซึ่งเรียกว่า ดาวน์โหลด(Download) หรือส่งผ่านจากเครื่องเราไปยังเครื่องอื่นๆ ในระบบ เรียกว่า การอัพโหลด(Upload)
    4. การทำงานข้ามเครื่อง (TelNet)
    บริการที่ผู้ใช้บริการต้องการใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่อง อื่นๆ ตั้งอยู่ไกลออกไปเพื่อเข้าใช้งานเครื่องอื่น ๆ ได้ทั่วโลกเหมือนกับเราไปที่เครื่องนั้นเอง จะต้องมีชื่ออยู่ในสารบบที่ได้รับการอนุญาตให้ใช้ได้ โดยจะใช้ระบุชื่อ และรหัสผ่าน ถ้าระบุได้ถูกต้องก็จะสามารถเข้าไปใช้งานได้ทันที
    5. การสนทนาบนเครือข่าย(IRC : Internet Relay Chat)
    ผู้ใช้บริการสามารถคุยโต้ตอบกันทางตัวอักษรบนจอคอมพิวเตอร์ หรือ คุยกันเป็นกลุ่มหลาย ๆ คน ในลักษณะของการ Chat เช่น โปรแกรม Microsoft Chat ,Pirch และ ICQ เป็นต้น ยังมีโปรแกรมที่พัฒนาให้สามารถพูดโต้ตอบกันผ่านระบบคอมพิวเตอร์ได้เช่นเดียว กับทางโทรศัพท์ เช่น โปรแกรม Cooltalk เป็นต้น
    6. กลุ่มข่าวที่สนใจ (UseNet)
    เป็นบริการที่ช่วยให้เข้าถึงข้อมูลและข่าวสารของกลุ่มสนทนาแลก เปลี่ยนข่าวสารต่าง ๆ เพื่อให้ผู้สนใจตรงกัน หรือคล้าย ๆ กัน ได้ส่งข่าวติดต่อกันและแลกเปลี่ยนแนวคิด
    7. การค้นหาข้อมูลและไฟล์ข้อมูล(Gopher/Archie)
    เป็นบริการสืบค้นข้อมูล โกเฟอร์(Gopher) เป็นโปรแกรมที่ใช้ในการค้นหาข้อมูลเพียงค้นหาทีละหัวข้อ แต่ละหัวข้อจะมีเมนูย่อย ๆ ให้เลือก อาร์ชี(Archie) ผู้ใช้บริการทราบเพียงรายละเอียดบางอย่างก็จะแสดงรายชื่อออกมาให้ผู้ใช้ทราบ ว่าอยู่ที่ใดบ้าง

ข้อดีและข้อจำกัดของอินเตอร์เน็ต


ถึงแม้อินเทอร์เน็ตจะก่อให้เกิดผลดีต่อผู้ใช้มากมาย   แต่ก็ยังมีข้อจำกัดบางประการ   ดังต่อไปนี้
1.             อิน เทอร์เน็ตเป็นข่ายงานขนาดใหญ่ที่ไม่มีใครเป็นเจ้าของ ทุกคนจึงสามารถสร้างเว็บไซด์หรือติดประกาศข้อความได้ทุกเรื่อง บางครั้งข้อความนั้นอาจจะเป็นข้อมูลที่ไม่ถูกต้องหรือไม่ได้รับการรับรอง เช่น ข้อมูลด้านการแพทย์หรือผลการทดลองต่างๆ จึงเป็นวิจารณญาณของผู้อ่านที่จะต้องไตร่ตรองข้อความที่อ่านนั้นด้วยว่าควร จะเชื่อถือได้หรือไม่
2.             นักเรียนและเยาวชนอาจติดต่อเข้าไปในเว็บไซด์ที่ไม่เป็นประโยชน์หรืออาจยั่วยุอารมณ์ ทำให้เป็นอันตรายตัวตัวเองและสังคม
ข้อดีและข้อจำกัดของอินเตอร์เน็ต
                 อินเตอร์เน็ตมีทั้งข้อดีและข้อเสีย ถ้าผู้ใช้นำไปใช้ในทางที่ถูกก็จะเกิดประโยชน์มาก แต่ขณะเดียวกันก็อาจมีข้อเสียบ้าง ถ้าผู้ใช้ขาดคุณธรรมประจำใจ
ซึ่งสามารถจำแนกข้อดี และข้อจำกัดได้ดังนี้
ข้อดี
 1. สามารถติดต่อกับคนได้ทั่วโลก
 2. สามารถใช้เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูล , ความคิดเห็น
 3. ช่วยในการค้นหา และโอนย้ายโปรแกรมต่าง ๆ มาใช้ได้ฟรี
 4. สามารถค้นคว้า วิจัย เพราะอินเตอร์เน็ตเปรียบเสมือนห้องสมุดขนาดใหญ่ ที่มีหนังสือต่าง ๆ หรือแหล่งความรู้มากมาย
 5. อ่านข่าวสารของกลุ่มสนทนาต่าง ๆ
 6. สามารถท่องเที่ยวไปยังสถานที่ต่าง ๆ ได้ทั่วโลก
 7. ติดต่อสื่อสารกันได้ทั่วโลกในราคาถูก
 8. หาเพื่อนใหม่ทางอินเตอร์เน็ตได้
 9. สามารถดูหนัง ฟังเพลง เล่นเกมสนุก ๆ ได้
 10. สั่งซื้อสินค้า และบริการต่าง ๆ ผ่านทางอินเตอร์เน็ตได้
ข้อจำกัด
1. อาจมีการกลั่นแกล้ง หลอกลวง จากผู้ที่ไม่หวังดี
2. ถ้าเล่นอินเตอร์เน็ตมากเกินไป อาจทำให้เสียการเรียนได้
3. ถ้านอนดึกมากเกินไปจะทำให้เสียสุขภาพ
4. นั่งอยู่หน้าจอนาน ๆ จะทำให้เสียสายตา
5. อาจเกิดอาชญากรรมที่ใช้เทคโนโลยีระดับสูงได้

ข้อดีข้อเสียของอินเตอร์เน็ต
ข้อดี
-สามารถหาข้อมูลที่ต้องการได้เร็วและค่าใช้จ่ายน้อยกว่าการเดินทางไปหาข้อมูลเอง -ทำให้เรามีโลกทัศน์ที่ไกลออกไป
-เปรียบเสมือนห้องสมุดของโลกใช้ในการค้นคว้าข้อมูลในลักษณะต่างๆ เช่น งานวิจัย บทความ ความก้าวหน้าทางการแพทย์ ฯลฯ ได้จากแหล่งข้อมูลทั่วโลก ตลอด 24 ชั่วโมง
- สามารถติดตามการเคลื่อนไหวของสถานการณ์ต่างๆที่อยู่ทั่วโลกได้อย่างรวดเร็ว จากการรายงานข่าวของสำนักข่าวที่มีเว็บไซด์อยู่ รวมถึงการพยากรณ์อากาศของประเทศต่างๆทั่วโลกด้วย
- สามารถสนทนากับผู้อื่นที่อยู่ห่างไกลได้ทั้งในลักษณะการพิมพ์ข้อความโต้ตอบกันและการพูดคุย
- สามารถเข้าร่วมกลุ่มอภิปราย หรือกลุ่มข่าวเพื่อแสดงความคิดเห็นในเรื่องเดียวกันซึ่งเป็นการขยายวิสัยทัศน์นั้นๆ
- สามารถติดประกาศข้อความต่างๆ ที่ต้องการประกาศให้ผู้อื่นทราบได้อย่างทั่วถึง
- สามารถถ่ายโอน(Download) โปรแกรม แฟ้มข้อความ ภาพกราฟิก ภาพเคลื่อนไหว และเสียงจากเว็บไซต์
- ให้บริการด้านระบบ โปรแกรมขององค์กรต่างที่เป็น .NET
- ให้บริการทางด้าน E ต่าง ๆ
ข้อเสีย
-เป็นสื่อที่ควบคุมยาก
-เป็นแหล่งอบายมุขในด้านต่าง ๆ
- เป็นสื่อที่วัยรุ่นติด และ ทำให้การเรียนตกตำลง
-ในการควบคุมในการใช้สื่อที่เป็นการเสื่อมเสียลำบาก เป็นช่องทางของมิจฉาชีพที่มีการทำให้เยาวชนเสียอนาคต
- สื่อบางสื่อไม่เหมาะกับเยาวชน เช่น เป็นสื่อลามกอนาจาร
-ใช้ในการหลอกลวง โดยการโฆษณาชวนเชื่อ
- ทำให้เสียเวลาที่ควรจะได้ในองค์กร หากใช้ในทางที่ผิด
- เป็นช่องทางนำ Virus เข้าสู่ระบบ Computer
- ละเมิดสิทธิส่วนบุคคลได้ง่าย
บริการต่าง ๆ ของอินเตอร์เน็ต
1. World Wide Web (WWW) (เวิลด์ไวด์เว็บ )
2. Electronic Mail (E-Mail) (จดหมายอิเล็กทรอนิกส์)
3. Search Engine  (บริการค้นหาข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต)
4. Instant Message (บริการสนทนาบนอินเทอร์เน็ต )
5. Telnet (ควบคุมระยะไกล)
6. FTP (File Transfer Protocol)  (บริการโอนย้ายไฟล์ )
7. Web board (บริการกระดานข่าวหรือ เวบบอร์ด )

อินเตอร์เน็ตความเร็วสูง



อินเตอร์เน็ตความเร็วสูง หรือที่เรียกในภาษาอังกฤษว่า Broadband Internet มีความหมายที่แตกต่างกันออกไปบ้างเล็กน้อย
อย่างเช่น Jupiter Communication ให้ความหมายของ "อินเตอร์เน็ตความเร็วสูง" ที่ใช้กับเครื่องพีซี หรือเครื่องตั้งโต๊ะปกติของเรา คือ มีการต่อเชื่อมกับสายตลอดเวลา ใช้ได้ 24 ชั่วโมง และมีความเร็วที่ไม่น้อยกว่า 256 กิโลบิตต่อวินาที (256,000 Kbps) ในการรับข้อมูลขาลง (Download)
ส่วน Ovum ได้ให้คำจำกัดความตามการวิจัยว่า อินเตอร์เน็ตความเร็วสูง คือ เป็นระบบที่ติดตั้งตายตัว และมีความเร็วไม่น้อยกว่า 144 กิโลบิตต่อวินาที (144,000 Bit Per Second)
คณะกรรมการด้านการสื่อสารสหรัฐ ได้ให้คำอธิบายว่า เป็นอินเตอร์เน็ตที่มีความเร็วไม่น้อยกว่า 200 Kbps ในอย่างน้อยทางใดทางหนึ่ง คือจะเป็นขาขึ้น หรือขาลงก็ตามสำหรับในคำอธิบายจาก Webopedia ได้กำหนดความหมายว่า เป็นความเร็วที่ 1.54 Mbps (1,500,000 บิตต่อวินาที) โดยใช้เส้นทางที่เป็นสาย แต่เป็นการสื่อสารแบบสองทาง ไม่ใช่เพียงขาขึ้น หรือขาลงเพียงอย่างเดียวและเมื่อมีการใช้ความเร็วในการสื่อสารที่สูงขนาดนี้ จึงทำให้สามารถรับหรือส่งสารที่เป็นสื่อประสมที่มีรายละเอียดสูง (Rich Media) อย่างเช่น ภาพ ภาพเคลื่อนไหว อย่างรายการโทรทัศน์ ได้ นอกจากนี้ ในตลาดด้านการสื่อสาร จะหมายถึงไม่เพียงความสามารถด้านการสื่อสาร แต่จะพูดถึงด้านเนื้อหาด้วยว่าจะต้องเป็นเนื้อหาที่ทำสำหรับอินเตอร์เน็ตความเร็วสูง ตัวอย่างดังกล่าว เช่น ภาพยนต์ ภาพเคลื่อนไหวสั้นๆ (Short films), flash, การ์ตูน ภาพ 3 มิติ วิทยุทางอินเตอร์เน็ต วิดีโอตามสาย การประชุมสัมมนาตามสาย และอื่นๆ
อินเทอร์เน็ตเป็นเทคโนโลยีใหม่ในการสื่อสารสารสนเทศ เปรียบเสมือนชุมชนแห่งใหม่ของโลก ซึ่งรวมคนทั่วทุกมุมโลกเข้าด้วยกัน จึงทำให้มีบริการต่างๆ เกิดขึ้นใหม่ตลอดเวลา ซึ่งมีทั้งข้อดีที่เป็นประโยชน์และข้อจำกัดบางประการ   ดังนี้ ข้อดีของอินเทอร์เน็ต
อินเทอร์เน็ตประกอบไปด้วยบริการที่หลากหลาย   ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อผู้ใช้บริการมากมาย ดังต่อไปนี้
1.             ค้น คว้าข้อมูลในลักษณะต่างๆ เช่น งานวิจัย บทความในหนังสือพิมพ์ ความก้าวหน้าทางการแพทย์ ฯลฯ ได้จากแหล่งข้อมูลทั่วโลก เช่น ห้องสมุด สถาบันการศึกษา และสถาบันวิจัย โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายและเสียเวลาในการเดินทางและสามารถสืบค้นได้ตลอด เวลา 24 ชั่วโมง
2.             ติดตามความเคลื่อนไหวต่างๆ ทั่วโลกได้อย่างรวดเร็วจากการรายงานข่าวของสำนักข่าวต่างๆ อยู่ รวมทั้งอ่านบทความเรื่องราวที่ลงในนิตยสารหรือวารสารต่างๆ ได้ฟรีโดยมีทั้งข้อความและภาพประกอบด้วย
3.             รับส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ทั่วโลกได้อย่างรวดเร็วโดยไม่ต้องเสียเงินค่าตราไปรษณียากร ถึงแม้จะเป็นการส่งข้อความไปต่างประเทศก็ไม่ต้องเสียเงินเพิ่มขึ้นเหมือนการส่งจดหมาย การส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์นี้นอกจากจะส่งข้อความตัวอักษรแบบจดหมายธรรมดาแล้ว ยังสามารถส่งแฟ้มภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว และเสียงพร้อมกันไปได้ด้วย
4.             สนทนากับผู้อื่นที่อยู่ห่างไกลได้ทั้งในลักษณะการพิมพ์ข้อความและเสียง
5.             ร่วมกลุ่มอภิปรายหรือกลุ่มข่าวเพื่อแสดงความคิดเห็น หรือพูดคุยถกปัญหากับผู้ที่สนใจในเรื่องเดียวกัน เป็นการขยายวิสัยทัศน์ในเรื่องที่สนใจนั้นๆ
6.             ถ่ายโอนแฟ้มข้อความ ภาพ และเสียงจากที่อื่นๆ รวมทั้งโปรแกรมต่างๆ ได้จากแหล่งที่มีผู้ให้บริการ
7.             ตรวจดูราคาสินค้าและสั่งซื้อสินค้ารวมทั้งบริการต่างๆ ได้โดยไม่ต้องเสียเวลาเดินทางไปห้างสรรพสินค้า
8.             ให้ความบันเทิงหลายรูปแบบ   เช่น  การฟังเพลง รายการวิทยุ การชมรายการโทรทัศน์ ภาพยนตร์ รวมไปถึงการแข่งขันเกมกับผู้อื่นได้ทั่วโลก  
9.             ติดประกาศข้อความที่ต้องการให้ผู้อื่นทราบได้อย่างทั่วถึง
10.      ให้เสรีภาพในการสื่อสารทุกรูปแบบแก่บุคคลทุกคน

การเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต



ในตอนนี้จะได้แนะนำวิธีการต่อเชื่อมอินเทอร์เนตแบบ  Local Area Network (LAN) หรือเชื่อมต่อจากภายในองค์กร จริงแล้วการเชื่อมต่อดังกล่าว หากหน่วยงานของท่านมีบริการ DHCP ท่านก็แทบไม่ต้องติดตั้งแก้ไขใดๆเลย แต่หากหน่วยงานท่านไม่มีบริการ DHCP ดังกล่าวท่านจำเป็นต้องติดตั้งค่าเกี่ยวกับ IP ให้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ของท่าน โดยทานจำเป็นที่จะต้องขอชุด IP จากหน่วยงานผู้ให้บริการก่อน เมื่อได้มาแล้วก็สามารถติดตั้งค่าได้ดังนี้
1. เข้ามาที่ เริ่ม Start => Setting => Control Panel ตามลำดับ
2.จะได้กรอบ Control ให้ดับเบิลคลิกที่ Network
3. จะได้กรอบ Network ให้เลือกที่ TCP/IP ที่ตรงกับ LAN Card ของท่าน แล้วดับเบิลคลิก
4. จากนั้นจะได้กรอบ TCP/IP ที่แทบ IP Addressให้คลิกที่ Specify an IP Address แล้วพิมพ์ IP Address และ Subnet  Mask ลงไป
5. และต่อไปให้คลิกที่แทบ Gateway ในช่อง New Gateway ให้พิมพ์ค่า Gateway เสร็จแล้วกดปุ่ม Add
6. และที่แทบ DNS Configuration ให้คลิกที่ Enable DNSให้พิมพ์ Host, Domain ลงไปและกำหนดค่า DNS ในช่อง DNS Server Search Order เสร็จแล้วคลิกปุ่ม Add ด้วยเรียบร้อยแล้วให้คลิกปุ่ม OK
สุดท้ายโปรแกรมก็จะสั่งให้ Restart เครื่อง ให้ทำการ Restart เท่านี้ก็เป็นการเสร็จสิ้นขั้นตอนการแก้ไขติดตั้งเพื่อการเชื่อมต่อแบบ  Local Area Network (LAN) หรือการเชื่อมต่อจากภายในองค์กร

โดเมนเนม [Domain Names System :DNS]


Domain name (โดเมน) คือ ชื่อเว็บไซต์ ซึ่งโดยปกติ เว็บไซต์ ทุกเว็บ จะต้องมีที่อยู่ในโลกของอินเตอร์เน็ต ซึ่งก็คือ IP Address โดย IP Address ถือเป็น หมายเลขประจำตัวของคอมพิวเตอร์ตัวนั้น IP Address เป็นตัวเลขที่จดจำได้ยาก ทำให้การอ้างถึง คอมพิวเตอร์ หรือ server ในเครือข่ายอินเตอร์เน็ต โดยใช้หมายเลข IP ไม่ สะดวกต่อผู้ใช้ คอมพิวเตอร์ ดังนั้นเพื่อให้เป็นการจำได้ง่าย ทั้งในการเข้าชมผ่านบราวเซอร์ของผู้ใช้ทั่วไป ยังรวมไปถึงผู้ดูแลระบบโดเมนเนมซีสเทม ที่สามารถแก้ไขไอพีแอดเดรสของชื่อโดเมนเนมนั้นๆ ได้ทันที โดยที่ผู้ใช้ทั่วไปไม่จำเป็นต้องรับรู้หรือจดจำไอพีแอดเดรสที่มีการเปลี่ยน แปลง และเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่เผยแพร่เว็บไซต์ จะมีโดนเมนเนมเฉพาะไม่ซ้ำกับใคร จึงมีระบบ ชื่อคอมพิวเตอร์ ตาม มาตรฐาน ของเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ซึ่งเรียกว่า "ดีเอ็นเอส" DNS (Domain Name System) หรือระบบชื่อ Domain name นั่นเอง โดยเป็นตัวอ้างอิงแทน IP Address โดนเมนเนม มีด็อทอยู่หลายประเภทแต่ที่นิยมมากที่สุดนั้นก็คือ .com เพราะ เป็น ด็อท ในยุคแรกๆ ที่เริ่มใช้กัน และง่ายต่อการจดจำ

ประเภทของ Domain Name แบ่งได้เป็น 2 ประเภท
1.โดนเมนเนม 2 ระดับ
ประกอบด้วย  www . ชื่อโดเมน . ประเภทของโดเมน เช่น www.mindphp.com
ประเภทของโดเมน คือ คำย่อขององค์กร โดยประเภทขององค์กรที่พบบ่อย มีดังต่อไปนี้

  •     .com คือ บริษัท หรือ องค์กรพาณิชย์
  •     .org คือ องค์กรเอกชนที่ไม่แสวงผลกำไร
  •     .net คือ องค์กรที่เป็นเกตเวย์ หรือ จุดเชื่อมต่อเครือข่าย
  •     .edu คือ สถาบันการศึกษา
  •     .gov คือ องค์กรของรัฐบาล
  •     .mil คือ องค์กรทางทหาร

2.โดนเมนเนม 3 ระดับ  
ประกอบด้วย www . ชื่อโดเมน . ประเภทของโดเมน . ประเทศ เช่น www.google.co.th โดยประเภทขององค์กรที่พบบ่อยคือ
  •      .co คือ บริษัท หรือ องค์กรพาณิชย์
  •      .ac คือ สถาบันการศึกษา
  •      .go คือ องค์กรของรัฐบาล
  •      .net คือ องค์กรที่ให้บริการเครือข่าย
  •      .or คือ องค์กรเอกชนที่ไม่แสวงผลกำไร
ตัวย่อของประเทศที่ตั้งขององค์กร
  •     .th   คือ ประเทศไทย
  •     .cn  คือ ประเทศจีน
  •     .uk  คือ ประเทศอังกฤษ
  •     .jp   คือ ประเทศญี่ปุ่น
  •     .au  คือ ประเทศออสเตรเลีย
  • หมายเลขประจำเครื่อง [IP Address]


    IP Address  ย่อมาจากคำเต็มว่า Internet Protocal Address คือ หมายเลขประจำเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีส่วนร่วมในเครือข่ายอินเตอร์เน็ต แต่ละเครื่องในระบบเครือข่ายที่ใช้โปรโตคอลแบบ TCP/IP และมีหมายเลขประจำเครื่องที่ไม่เหมือนกัน
    IP Address  มีหน้าที่อยู่ 2 ฟังก์ชั่นหลัก ได้แก่

    •          เป็น ตัวเริ่ม (host) หรือ ตัวเชื่อมต่อเครือข่ายของบุคคลผู้ใช้
    •           บอกสถานที่ตั้งของเครื่องคอมพิวเตอร์
         วิธีตรวจสอบ IP Address
        1.คลิกปุ่ม Start เลือก Run
        2.พิมพ์คำว่า cmd กดปุ่ม OK
        3.จะได้หน้าต่างสีดำ
        4.พิมพ์คำว่า ipconfig กด enter
        5.จะเห็นกลุ่มหมายเลข IP Address

        เพิ่มเติม
        TCP/IP ?
    การที่เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ถูกเชื่อมโยงกันไว้ในระบบ  จะสามารถติดต่อสื่อสารกันได้นั้น จำเป็นจะต้องมีภาษาสื่อสารที่เรียกว่า โปรโตคอล (Protocol) ซึ่งในระบบอินเตอร์เน็ต จะใช้ภาษาสื่อสารมาตรฐานที่ชื่อว่า TCP/IP เป็น ภาษาหลัก ดังนั้นหากเครื่องคอมพิวเตอร์ไม่ว่าจะเป็นเครื่องระดับไมโครคอมพิวเตอร์ มินิคอมพิวเตอร์ หรือเมนเฟรมคอมพิวเตอร์ ก็สามารถเชื่อมโยงเข้าสู่อินเทอร์เน็ตได้
    • TCP  ย่อมาจากคำว่า   Transmission Control Protocol
    • IP   ย่อมาจากคำว่า   Internet  Protocol
    TCP/IP คือ ชุดของโปรโตคอลที่ถูกใช้ในการสื่อสารผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้สามารถใช้สื่อสารจากต้นทางข้ามเครือข่ายไปยังปลาย ทางได้ และสามารถหาเส้นทางที่จะส่งข้อมูลไปได้เองโดยอัตโนมัติ
    ระบบ หมายเลขประจำเครื่องมีข้อบกพร่อง คือ จำยากและไม่ได้สื่อความหมายให้ผู้ใช้งานทั่วไปได้ทราบ ดังนั้น จึงมีการใช้ระบบชื่อของเครื่อง (Domain Name System : DNS) ซึ่งจะเป็นการเปลี่ยนหมายเลข IP Address มาเป็นชื่อที่คนทั่วๆ ไปเข้าใจกัน   เช่น   Moe.go.th  /  udru.ac.th  /  microsoft.com

    กำเนิดอินเตอร์เน็ตแลพอินเตอร์เน็ตประเทศไทย


                เครือข่ายอินเตอร์เน็ตถือกำเนิดมาในยุคสงครามเย็น  ระหว่างสหรัฐกับรัฐเซีย ในปี ค.ศ. 1960  ประ เทศรัสเซียส่งดาวเทียมขึ้นสู่อวกาศได้สำเร็จ กระทรวงกลาโหมของสหรัฐอเมริกาจึงได้รับรู้ว่า เทคโนโลยีชั้นสูงของประเทศยังล้าหลังกว่าของรัสเซีย ซึ่งส่งผลให้เกิดการตื่นตัวที่จะพัฒนาเทคโนโลยีชั้นสูง รัฐบาลสหรัฐอเมริกาโดยกระทรวงกลาโหมจึงก่อตั้งหน่วยงานวิจัยชั้นสูงที่ชื่อ ว่า Advanced ResearchProjects Agency หรือที่รู้จักกันในนามของ ARPA
            ซึ่งกระทรวงกลาโหมประเทศสหรัฐอเมริกาเห็นว่าระบบคอมพิวเตอร์สำหรับสั่งการต้องเป็นระบบเครือข่ายที่ใช้งานได้ตลอดเวลา  หากมีการโจมตีด้วยระเบิดปรมาณูที่เมืองใดเมืองหนึ่ง  ระบบคอมพิวเตอร์บางส่วนอาจถูกทำลาย  แต่ส่วนที่เหลือทำงานได้  เป้าหมายการวิจัยและการพัฒนาเครือข่ายคอมพิวเตอร์ดังกล่าวจึงกลายเป็นโครงการชื่อ ARPAnet หรือ Advance Research Project Agency net  โดยได้ให้ทุนแก่มหาวิทยาลัยของสหรัฐอเมริกา เพื่อการทำวิจัยในหัวข้อเรื่อง เครือข่ายการทำงานร่วมกันของคอมพิวเตอร์แบบแบ่งเวลางาน (Cooperative net-work of Time-Shared Computers) หลังจากนั้นอีก 3 ปี กระทรวงกลาโหมก็ได้สนับสนุนโครง-การวิจัยเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่ชื่อว่า ARPANETจนกระทั่งโครงการ ARPANETได้เชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ของมหาวิทยาลัย 4แห่งเข้าด้วยกันในปี ทำให้เครือข่าย ARPANETขยายใหญ่ขึ้น และสามารถเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ของมหาวิทยาลัยต่างๆได้ถึง 23เครื่อง          
             จาก การศึกษาเรื่องเครือข่ายคอมพิวเตอร์จนถึงระยะเวลานั้น ผู้พัฒนาเครือข่ายหลายคนเริ่มเห็นปัญหาของการเชื่อมโยงระบบคอมพิวเตอร์ที่มี หลากหลายชนิด และหลากหลายผลิตภัณฑ์ จึงทำให้เกิดปัญหายุ่งยากในการเชื่อมโยง แนวความคิดที่จะสร้างระบบเปิดจึงเกิดขึ้น กล่าวคือ กำหนดมาตรฐานกลางที่ผลิตภัณฑ์ทุกยี่ห้อสามารถจะเชื่อมโยงเข้าสู่มาตรฐานนี้ ได้
                                                     
            แนวคิดในการเชื่อมโยงเครือข่ายเข้าด้วยกันและเชื่อมโยงในลักษณะวงกว้างเป็น สิ่งที่เป็นไปได้ดังนั้น ในปี พ.ศ. ๒๕๑๕ ผู้พัฒนาเครือข่ายจึงสร้างโพรโทคอลใหม่ และให้ชื่อว่า TCP/IP (Trans-mission Control Protocol / Internet Protocol)และให้ชื่อเครือข่ายที่เชื่อมโยงโดยใช้โพรโทคอลนี้ว่า  อินเทอร์เน็ต  หลังจากนั้น โครงการARPANET ได้นำโพรโทคอล TCP/IP ไป ใช้ใน การพัฒนาเครือข่ายคอมพิวเตอร์ได้ดำเนิน-การต่อมา ถึงแม้ว่าในช่วงหลัง กระทรวงกลาโหมของสหรัฐอเมริกาได้ยกเลิกการสนับสนุน และหันกลับไปทำวิจัยและพัฒนาเอง เครือข่ายนี้ก็เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว และมีการพัฒนามาตรฐานต่างๆเข้ามาใช้ประกอบร่วมกันอย่างต่อเนื่อง จนในที่สุดได้กลายเป็นมาตรฐานการสื่อสารที่ชื่อว่า TCP/IP และใช้ชื่อเครือข่ายว่า อินเทอร์เน็ต(Internet)
              ต่อมาการบริหารและดำเนินงานเครือข่ายได้รับการสนับสนุนจากมูลนิธิการศึกษาวิทยา-ศาสตร์แห่งชาติสหรัฐอเมริกา หรือที่ใช้ชื่อย่อว่าNSF (National Science Foundation) มีการตั้งคณะกรรมการเข้ามาบริหารเครือข่ายกลางที่เปิด  โอกาสให้ผู้อื่นเข้ามาเชื่อมโยง และได้ดำเนินการจนอินเทอร์เน็ตกลายเป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่ยิ่งใหญ่ของโลกโดยปัจจุบัน คอมพิวเตอร์ทั่วโลกล้วนแต่เชื่อมต่อกับเครือข่ายอินเตอร์เน็ตและสามารถ ติดต่อแลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้อย่างกว้างขวางและทั่วถึงกว่าเดิม

    สำหรับ ในประเทศไทย เริ่มเชื่อมโยงเข้าสู่ระบบอินเทอร์เน็ตตั้งแต่กลางปี พ.ศ. ๒๕๓๐ โดยมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ได้ทำการเชื่อมโยงเพื่อส่งอิเล็กทรอนิกส์เมลกับ ประเทศออสเตรเลียซึ่งทำให้มีระบบอิเล็กทรอนิกส์เมลเชื่อมต่อกันอินเทอร์เน็ต เป็นครั้งแรก ต่อมาในวันที่ ๒๗กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๓๕ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้เช่าสายวงจรเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตเป็นครั้งแรก ในช่วงระยะเวลาเดียวกันนี้ กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯโดยศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ ก็ได้มีโครงการที่จะเชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์ระหว่างมหาวิทยาลัยขึ้น เครือข่ายคอมพิวเตอร์ระหว่างมหาวิทยาลัยในประเทศไทยได้พัฒนาก้าวหน้าขึ้น เป็นลำดับ จนทำให้มีสถาบันออนไลน์กับอินเทอร์เน็ตเป็นกลุ่มแรก ได้แก่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลับ มหาวิทยาลับธรรมศาสตร์สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเซีย มหาวิทยาลัยสงขลา-นครินทร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ
              การพัฒนาเครือข่ายจึงเป็นไปตามกระแสการเชื่อมโยงเข้าสู่ระบบสากล มาตรฐานการเชื่อมโยงเป็นแบบโพรโทคอล TCP/IP ตาม มาตรฐานนี้มีการกำหนดหมายเลขแอดเดรสให้แก่เครือข่ายและเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยมีการสร้างเป็นลำดับชั้นเพื่อให้การเชื่อมโยงเครือข่ายเป็นระบบ แอดเดรสนี้จึงมีชื่อว่า ไอพีแอดเดรส (IP address)

              ไอพีแอดเดรสทุกตัวจะต้องได้รับการลงทะเบียน เพื่อจะได้มีหมายเลขไม่ซ้ำกันทั่วโลกการกำหนดแอดเดรสจะเป็นการกำหนดหมายเลขให้แก่เครือข่าย
    หมายเลขประจำเครื่อง[IP Adress]


              ผู้ ใช้เครือข่ายย่อยในเครือข่ายที่เชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตจะเป็นสมาชิกของอิน เทอร์เน็ตโดยปริยาย เพราะเครื่องคอมพิวเตอร์ของตนสามารถเชื่อมโยงกับเครื่องอื่นๆได้ทั่วโลก ผู้ใช้งานอยู่ที่บ้านสามารถใช้คอมพิวเตอร์จากบ้านต่อผ่านโมเด็มมาที่เครื่อง หลัก หลังจากนั้นก็จะเชื่อมโยงเข้าสู่เครือข่ายต่างๆได้ นิสิตนักศึกษาซึ่งอยู่ที่บ้านจะสามารถติดต่อกับอาจารย์ผู้สอนในมหาวิทยาลัย หรือติดต่อกับเพื่อนๆได้ ทั้งในมหาวิทยาลัยและต่างมหาวิทยาลัย หรือในต่างประเทศ
              อิน เทอร์เน็ตจึงเป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์มีอัตราการขยายตัวอย่างรวดเร็ว จนคาดกันว่าในอนาคต เครือข่ายอินเทอร์เน็ตจะเชื่อมโยงคนทั้งโลกเข้าด้วยกัน
              เครือ ข่ายคอมพิวเตอร์ในประเทศไทยสามารถเชื่อมโยงได้ทุกมหาวิทยาลัย โดยมีการเชื่อมโยงเข้าสู่อินเทอร์เน็ตที่เชื่อมโยงกันในประเทศซึ่งจัดการโดย หน่วยบริการอินเทอร์เน็ต หรือที่เรียกว่า ISP (Internet Service Provider)หน่วยบริการ ISP จะมีสายเชื่อมโยงไปยังต่างประเทศเข้าสู่อินเทอร์เน็ต
              ใน ปี พ.ศ. ๒๕๓๕ เครือข่ายระหว่างมหาวิทยาลัยได้เชื่อมโยงกัน โดยมีแกนกลางคือศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ และให้ชื่อเครือข่ายนี้ว่า เครือข่ายไทยสาร(THAISARN - THAI Social / Scientific, Academicand Research Network) การเชื่อมโยงภายในประเทศทำให้ทุกเครือข่ายย่อยสาามารถเชื่อมโยงเป็นอินเทอร์เน็ตสากลได้

    วันเสาร์ที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2556

    ความหมายของอินเตอร์เน็ต


      อินเทอร์เน็ต ( Internet )   นั้นย่อมาจากคำว่า  “International network”  หรือ  “Inter Connection  network”คือ เครือข่ายของคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่เชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทั่วโลกเข้าด้วยกัน โดยอาศัยเครือข่ายโทรคมนาคมเป็นตัวเชื่อมเครือข่าย ภายใต้มาตรฐานการเชื่อมโยงด้วยโปรโตคอลเดียวกันคือ TCP/IP (Transmission Control Protocol / Internet Protocol) เพื่อให้คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในอินเทอร์เน็ตสามารถสื่อสารระหว่างกันได้ นับว่าเป็นเครือข่ายที่กว้างขวางที่สุดในปัจจุบัน เนื่องจากมีผู้นิยมใช้ โปรโตคอลอินเทอร์เน็ตจากทั่วโลกมากที่สุด

    อินเทอร์เน็ตจึงมีรูปแบบคล้ายกับเครือข่ายคอมพิวเตอร์ระบบ WAN แต่มีโครงสร้างการทำงานที่แตกต่างกันมากพอสมควร   เนื่องจากระบบ WAN เป็นเครือข่ายที่ถูกสร้างโดยองค์กรๆ เดียวหรือกลุ่มองค์กร เพื่อวัตถุประสงค์ด้านใดด้านหนึ่ง และมีผู้ดูแลระบบที่รับผิดชอบแน่นอน แต่อินเทอร์เน็ตจะเป็นการเชื่อมโยงกันระหว่างคอมพิวเตอร์นับล้านๆ เครื่องแบบไม่ถาวรขึ้นอยู่กับเวลานั้นๆ ว่าใครต้องการเข้าสู่ระบบอินเทอร์เน็ตบ้าง ใครจะติดต่อสื่อสารกับใครก็ได้ จึงทำให้ระบบอินเทอร์เน็ตไม่มีผู้ใดรับผิดชอบหรือดูแลทั้งระบบ